แคท น่ารักจัง

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาวะปกติในทารกแรกเกิด

     การสะดุ้งหรือผวา : เวลามีเสียงดัง หรือเวลาสัมผัส แสดงถึงระบบประสาทที่ปกติ จะพบได้ในทารกที่นอนหลับสนิท และจะพบได้จนอายุ 6 เดือน
     การบิดตัว : ทารกคลอดครบกำหนด มีการเคลื่อนไหวเวลานอนคล้ายผู้ใหญ่บิดขี้เกียจ ทารกจะยกแขนเหนือศีรษะ งอเข่า ตะโพก และข้อเข่า และบิดตัว พบได้ในทารกที่ปกติ ไม่ใช่เกิดจากการชักบิดผ้าอ้อม
     การสะอึก : เกิดจากทารกดูดนมมาก และเร็ว ทำให้กระเพาะอาหารขยายใหญ่ ดันกระบังลม ทำให้สะอึก วิธีแก้ไข โดยไล่ลมในท่านั่ง หรืออุ้มพาดบ่า นาน 5 -5 10 นาที
     การแหวะนม : ทารกแรกเกิด หูรูดกระเพาะอาหารยังทำงานได้ไม่ดี เมื่อดูดนมและดูดกลืนอากาศเข้าไป ทำให้แหวะนมหลังให้นม
วิธีแก้ ไล่ลมบ่อยระหว่างให้นมลูก โดยอุ้มให้นั่งหรือ อุ้มพาดบ่าหลังให้นม หรือให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อย และนอนตะแคงขวานาน ครึ่งชั่วโมง

     ผิวหนังลอก : จะเกิดขึ้นหลังอายุ 1 - 2 วัน จะหายไปราว 2 - 3 วันโดยไม่ต้องให้การรักษา
     ลิ้นขาว : ให้มารดาใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก พันนิ้วก้อยให้แน่น เช็ดลิ้นทารกวันละครั้ง ห้ามใช้ผ้าอ้อมเปื้อนปัสสาวะเช็ดลิ้น
              

การดูแลเด็ก

 การดูแลทารกประจำวัน
      การอาบน้ำ : อาบด้วยน้ำอุ่น ควรอาบเสร็จภายใน 5-7นาที ในที่ลมไม่โกรก อาบวันละ 2 ครั้ง และสระผมวันละครั้ง ไม่ควรอาบน้ำทันทีหลังให้นม
      การขับถ่าย : การถ่ายปัสาวะ หลังถ่ายให้เปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง ถ้าปล่อยไว้นานทารกจะตัวเย็น
                        การถ่ายอุจจาระ ทารกที่กินนมแม่จะถ่ายบ่อย มีสีเหลือง จะมีเม็ดเล็กๆคล้ายเม็ดมะเขือ เพราะนมแม่ย่อยง่าย ช่วยระบายท้อง
                        การทำความสะอาดก้น เช็ดด้วยสำลีชุบน้ำสะอาด เช็ดจากบนลงล่าง ห้ามเช็ดกลับไปกลับมา

      การดูแลสะดือทารก : สะดือจะหลุดภายใน 7 - 14 วัน ดูแลให้โคนสะดือ และสะดือ แห้ง เสมอ เช็ดด้วยไม้พันสำลีชุบแอลกอฮอล์ วันละ 3 ครั้ง เมื่อสะดือใกล้จะหลุดจะมีเลือดออก ห้ามใช้แป้งและยาโรยสะดือ
      การให้นมบุตร : ให้ลูกดูดนมแม่ทุก 2 ชั่วโมง ไม่ต้องให้น้ำตาม เพราะนมแม่มีน้ำเพียงพอ   ดูการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่   
      การทำความสะอาดเสื้อ ผ้าอ้อม : ซักด้วยสบู่เ็ด็ก หรือน้ำยาซักผ้าเด็ก ควรแยกซักจากของผู้ใหญ่

วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ของท่านพุทธทาส เรื่อง เจ้าของเรือ

นิทานเรื่องสั้น


นิทานเรื่องสั้น ของท่านพุทธทาส  เรื่อง เจ้าของเรือ
"พ่อจ๋า พ่อว่า พ่อเป็นเจ้าของเรือ แต่พ่อต้องล้างเรือ เช็ดถูเรือ ต้องชะโลมน้ำมัน ให้มันบ่อยๆ พ่อต้องเก็บรักษา แจวพาย และ เครื่องใช้ ในเรือ ทุกๆ อย่าง แล้วพ่อก็แจว เมื่อพาพวกเราไปนั่งเรือเล่น พร้อมกับเพื่อนบ้านของเราทุกคน พ่อเหนื่อยเกือบตาย ทีพวกนั้น ทำไมนั่งสบาย ไม่ช่วยพ่อแจว ไม่ช่วยพ่อเช็ดล้างเรือบ้างเล่าพ่อจ๋า?" หนูจ้อย ถามพ่อ ทำตาแดงๆ
"ก็พ่อเป็น เจ้าของเรือ นี่ลูกเอ๋ย"
"ใครเป็นเจ้าของอะไร ก็ต้องเหนื่อยเกือบตาย ใครไม่เป็นเจ้าของก็สบาย พ่อเห็นว่า มันจะยุติธรรมหรือ?"
"ธรรมเนียม มันเป็นอย่างนั้นเอง ใครเป็นเจ้าของ ก็ต้องทนเหนื่อย ทนหนักใจ"
"แล้วพ่อจะขืน เป็นเจ้าของเรือ ไปทำไม ให้เขาเสีย แล้วขอนั่งกะเขา เป็นครั้งคราว เหมือนที่เขานั่งเรือเรา อย่างสนุกสนาน มิดีกว่าหรือ?"
"ก็ พ่อ อยากจะเป็น เจ้าของเรือสักลำหนึ่ง นี่ลูกเอ๋ย"
"ขออย่าให้ ฉันต้องเป็น เจ้าของเรือ ร่วมกับพ่อ ฉันจะ ไม่ยอมเป็น เจ้าของ อะไรๆ เลย แม้แต่ ตัวของฉันเอง!"
"แล้วลูก จะอยู่ได้อย่างไร?"
"อยู่อย่าง ไม่ต้อง ทนเหนื่อย เหมือนพ่อ และตรงกันข้าม จากพ่อ ทุกประการ!"
ดังนั้น หนูจ้อยจึงกลายเป็น เณรจ้อยไป เพราะเขา ไม่อยากเป็น เจ้าของสิ่งใด แต่อยากเป็นอยู่ ชนิดที่เขาเห็นว่า ตรงกันข้าม จากพ่อ ทุกประการ 
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า: ถ้าใครไม่เป็น เจ้าของสิ่งใด กลับจะได้กิน "ไข่แดง" ของสิ่งนั้น (เหมือน คนที่มาพลอย นั่งเรือเล่น กับพ่อ) ส่วนใครที่เป็น เจ้าของสิ่งใด เขาจะกินได้เพียง "ไข่ขาว" ของสิ่งนั้น ซึ่งบางที ถึงกับอาจจะต้อง กินเปลือกไข่ หรือ มูลโสโครก ที่ติดอยู่กับ เปลือกไข่ เข้าไปด้วยกัน ดังนี้แล้ว ใครจะอยู่ใน สภาพที่น่าสงสาร กว่าใคร ในระหว่าง พ่อ-ลูก สองคนนี้ เพื่อตอบปัญหา เกี่ยวกับ ตัวเราโดยตรง สืบไป



วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการเด็กปฐมวัย

พัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อปรับใช้

พัฒนาการ หมายถึง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ ( maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆ
และตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของระบบและบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้
ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น

     พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 6 ด้านดังนี้
          • พัฒนาการด้านร่างกาย
          • พัฒนาการด้านการรับรู้
          • พัฒนาการด้านสติปัญญา
          • พัฒนาการด้านภาษา
          • พัฒนาการด้านอารมณ์
          • พัฒนาการด้านสังคม

   พฤติกรรมและทักษะชีวิตของมนุษย์ได้จากการเรียนรู้และการสะสมประสบการณ์
การเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะง่ายและ
ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าอีกเวลาหนึ่งและสังคมจะคาดหวังให้เด็กแต่ละคนทำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ได้
ในแต่ละช่วงอายุของบุคคล พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละวัย
          วัยทารก ( 0-2 ปี) อายุ 0-6 สัปดาห์ เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ ฟังเสียงคุยแล้วยิ้มตอบ
          อายุ 4-6 เดือน จำหน้าแม่ได้ ส่งเสียงอ้อแอ้และยิ้มตามเสียง เด็กสามารถเอื้อมคว้าจับสิ่งของมาเข้าปาก

        อายุ 6-9 เดือน สามารถแยกเสียงของแม่ได้
เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้
เด็กจะแสดงอาการแปลกหน้ากับผู้ที่ไม่ คุ้นเคย และจะติดแม่ เรียกว่า
กลัวคนแปลกหน้า (Stranger anxiety)
          อายุ 9-12 เดือน
เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment) และจะติดผู้เลี้ยงดู
เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู เด็กจะร้องไห้และร้องตาม
เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกลับมา
เด็กจะแสดงความดีใจโผเข้าหาและเข้ามาคลอเคลีย
เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวการพลัดพราก (Separation anxiety)
       
อายุ 12-18 เดือน เด็กหัดเดินและชอบสำรวจ
ระยะนี้เด็กจะกระตือรือร้นที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมค้นหาสิ่งแปลกใหม่เด็กมัก
จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจตรวจตรา
ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย - ในวัยนี้เด็กจะทดสอบสิ่งต่างๆ
และดูผลของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพอใจเด็กจะโยนของเล่น
ว่าจะตกลงมาอย่างไร ถ้าพอใจเด็กจะโยนซ้ำ
ถ้าไม่พอใจเด็กจะหยุดหรือหาวิธีอื่นๆ
บางครั้งเด็กจะกรีดร้องจะเอาของมาโยนอีก - เด็กเริ่มพูดได้
เป็นคำๆอย่างน้อย 10 คำ
          อายุ 18-24 เดือน - เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็ว และจดจำคำศัพท์ได้ดี

        อายุ 2-3 ปี - เด็กเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น -
เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม
ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะ พยายาม ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
เช่น จับช้อนตักอาหารเอง เด็กจึงมีพฤติกรรมต่อต้าน ( Negativism)
ชอบพูดว่า ไม่ ” “ ไม่เอา ” “ ไม่ทำ เป็นต้น
          อายุ 3-5
ปี พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่
จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา -
เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism)
เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก
แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก
แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต -
เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า ทำไม ” “
ทำไมรถจึงวิ่งฯลฯ - เด็กจะเชื่อมโยงปรากฎการณ์ 2
อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม นั่นอะไร ” “
นี่อะไร ” “ พ่อไปไหน เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้
       
เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม ทำไม พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ
เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น
หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง
ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว พัฒนาการด้านสังคม -
เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง
บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้
- เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้
รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน
คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด
เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ
เป็นต้น พ่อแม่ควรฝึกหัดและส่งเสริมให้เด็กวัยอนุบาลได้ช่วยเหลือตนเอง
เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว การขับถ่าย เป็นต้น
       
เด็กอายุ 1-5 ปี อาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา
เด็กจะนำสิ่งของเหล่านี้ติดตัวไปด้วยทุกแห่ง หรือเข้านอน ด้วยการนำมาอุ้ม
กอด และถือไว้ ใช้สำหรับปลอบใจ ทำให้รู้นึกมั่นใจและสบายใจ
โดยเฉพาะเวลาที่ต้องห่างจากแม่ เวลาไม่สบายหรือ เวลาเข้านอน
เพื่อทดแทนความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน
และเด็กก็เริ่มไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งของเหล่านี้เรียกว่า
Trasitional – object
 
 การเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะทำให้เด็กพัฒนาไปได้ดี ในขณะเดียวกัน
สังคมก็จะคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัย ซึ่ง เราเรียกว่า
งานพัฒนาการ (Deelopmental task)
ถ้าเด็กสามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการเด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับ
การยอมรับจากผู้อื่นและเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข
เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และ
สามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จตามมา
ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขึ้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย
และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก


บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม